ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพรายงานว่า ภาวะการเคลื่อนไหวของตลาดปริวรรตเงินตราระหว่างวันที่ 4-7 มกราคม 2565
ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันอังคาร (4/1) ที่ระดับ 33.28/30 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันพฤหัสบดี (30/21) ที่ระดับ 33.34/36 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ โดยได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ รวมทั้งการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างเร็วที่สุดในเดือน มี.ค. โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี พุ่งขึ้นเหนือระดับ 1.6%
ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 30 ปี ทะลุระดับ 2% โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรได้รับปัจจัยบวกจากการที่นักลงทุนคลายวิตกเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน รวมทั้งการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยซื้อหวยออนไลน์ถูกกฎหมายมั่นใจได้อย่างเร็วที่สุดในเดือน มี.ค. ซึ่งเป็นเดือนที่เฟดยุติโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) และจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีนี้
โดยเฟดเปิดเผยรายงานการประชุมประจำวันที่ 14-15 ธันวาคม ระบุว่าตลาดแรงงานของสหรัฐอยู่ในภาวะตึงตัวอย่างมาก ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้เฟดต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการปรับลดการถือครองสินทรัพย์ทั้งหมดด้วย โดยมีเป้าหมายที่จะสกัดการพุ่งขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ นอกจากนี้ การคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายของเจ้าหน้าที่เฟด (Dot Plot) บ่งชี้ว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกจะเกิดขึ้นรวดเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ โดยคาดว่าจะเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน 2565 จากเดิมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในไตรมาสแรกของปี 2566 และคาดการณ์ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในปี 2565 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากรายงานในเดือนกันยายน ที่ระบุว่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยเพียงครั้งเดียวในปี 2565 นอกจากนี้ รายงาน Dot Plot ยังระบุว่าเจ้าหน้าที่เฟดคาดการณ์ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจำนวน 2 ครั้งทั้งในปี 2566 และ 2567
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่มีการเปิดเผยในช่วงสัปดาห์นี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเพิ่มขึ้นเพียง 0.4% ในเดือน พ.ย.เมื่อเทียบรายเดือน ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.6% หลังจากเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือน ต.ค. ทางด้านไอเอชเอส มาร์กิตเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 57.7 ในเดือน ธ.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในปี 2564 จากระดับ 58.3 ในเดือน พ.ย.
โดยการร่วงลงของดัชนี PMI มีสาเหตุจากการขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต รวมทั้งการชะลอตัวของคำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงาน นอกจากนี้สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 58.7 ในเดือน ธ.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค. 2564 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 60.1 จากระดับ 61.1 ในเดือน พ.ย. สำนักงานสถิติของกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยผลสำรวจการเปิดรับสมัครงานและอัตรากรหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) พบว่า ตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน ซึ่งเป็นมาตรวัดอุปสงค์ในตลาดแรงงาน ลดลง 529,000 ตำแหน่ง สู่ระดับ 10.6 ล้านตำแหน่งในเดือน พ.ย. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 11.075 ล้านตำแหน่ง ตัวเลขการจ้างงานเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 6.8 ล้านตำแหน่ง
ส่วนอัตราการจ้างงานเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 4.5% ตัวเลขการลาออกจากงานโดยสมัครใจพุ่งขึ้น 370,000 ราย สู่ระดับ 4.5 ล้านราย ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่อัตราการลาออกจากงานโดยสมัครใจอยู่ที่ระดับ 4.7% ทั้งนี้ตัวเลข JOLTS นับเป็นข้อมูลที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสนใจ โดยมองว่าเป็นมาตรวัดภาวะตึงตัวในตลาดแรงงาน ซึ่งเป็นปัจจัยในการพิจารณานโยบายการเงิน และอัตราดอกเบี้ยของเฟด นอกจากนี้การจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐเพิ่มขึ้น 807,000 ตำแหน่งในเดือน ธ.ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 375,000 ตำแหน่งและสูงจากระดับ 505,000 ตำแหน่งในเดือน พ.ย.
นอกจากนี้ยังเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการขั้นสุดท้ายของสหรัฐ ปรับตัวลงสู่ระดั 57.6 ในเดือน ธ.ค. จากระดับ 58.0 ในเดือน พ.ย. ทั้งนี้นักลงทุนจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรในวันศุกร์นี้ ซึ่งหากตัวเลขดังกล่าวออกมาแข็งแกร่งกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ก็อาจจะส่งผลให้แนวโน้มที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้เพิ่มสูงขึ้น
สำหรับปัจจัยภายในประเทศไทยนั้น สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (ศอค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) หรืออัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ธ.ค. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน 2.17% แต่ลดลงจากเดือน พ.ย. -0.38 ส่งผลให้ทั้งปี 2564 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ 1.23% ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) หรืออัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค.เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน 0.29% และเพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ย. 0.05% ส่งผลให้ทั้งปี 2564 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน เฉลี่ยอยู่ที่ 0.23% ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ ยังประเมินแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในปี 2565 ไว้ที่ 0.7-2.4% มีค่ากลางที่ 1.5% โดยในช่วงสัปดาห์ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนค่า โดยนักลงทุนจับตาดูตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 อย่างใกล้ชิด
ทางด้านนายกฯสั่งประเมินสถานการณ์โควิดระลอกหลังปีใหม่ 2 สัปดาห์แรกก่อนนำเข้าที่ประชุม 7 มกราคมนี้ ส่วนทางด้านกระทรวงสาธารณสุขเพิ่มระดับการเตือนเป็นระดับที่ 4 หลังจากตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 พลิกมาพุ่งหลังปีใหม่เข้าเกณฑ์แนวโน้มรุนแรง ทั้งนี้การระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron เป็นความเสี่ยงสำคัญต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโดยรวมในระยะข้างหน้า จึงจำเป็นต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป โดยค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 33.14-33.74 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ก่อนปิดตลาดในวันศุกร์ (7/1) ที่ระดับ 33.66/68 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโร ค่าเงินยูโรเปิดตลาดเช้าวันอังคาร (4/1) ที่ระดับ 1.1296/97 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร อ่อนค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันพฤหัสบดี (30/12) ที่ระดับ 1.1308/09 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร โดยค่าเงินยูโรอ่อนค่าตามการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐ โดยนางสเตลลา คีเรียคิเตส กรรมาธิการด้านสาธารณสุขของสหภาพยุโรป (EU) เปิดเผยว่า พลเมืองของ EU ราว 1 ใน 5 ได้รับวัคซีนโควิด-19 เข็มบูสเตอร์แล้ว และอัตราการเข้ารับวัคซีนขณะนี้อยู่ที่เกือบ 20% พร้อมระบุว่า วัคซีนเข็มกระตุ้นมีความจำเป็นต่อการปกป้องผู้สูงอายุและผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง เช่น เบาหวาน
นอกจากนี้ นางคีเรียคิเดสกล่าวว่า จำเป็นต้องมีการประสานงานอย่างใกล้ชิดระหว่างประเทศสมาชิก EU เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ และเตือนว่าสถานการณ์ในวันข้างหน้ายังคงไม่แน่นอน
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการเปิดเผยในช่วงสัปดาห์นี้ ไอเอชเอส มาร์กิต เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของเยอรมนี ทรงตัวอยู่ที่ระดับ 57.4 ในเดือน ธ.ค.ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า แต่อยู่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ขั้นต้นที่ระดับ 57.9 นักวิเคราะห์ระบุว่า ปัจจัยลบที่กดดันภาคการผลิตของเยอรมนีนั้นมาจากปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์และวัตถุดิบต่าง ๆ ซึ่งกระทบต่อหลายอุตสาหกรรมของประเทศ โดยเฉพาะในภาคยานยนต์ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ บวกกับราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้น ได้ส่งผลให้บรรดาผู้ผลิตต้องปรับขึ้นราคาสินค้า จนทำให้ผู้บริโภคมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น
ซึ่งสร้างความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อซึ่งท้ายที่สุดจะสร้างแรงกดดันต่อทั้งการบริโภคและการขยายตัวของเศรษฐกิจ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการในยูโรโซนปรับตัวลดลง 53.1 ในเดือน ธ.ค.ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 53.3 และปรับตัวลดลงจากระดับ 55.9 ในเดือน พ.ย. ทั้งนี้ ระหว่างสัปดาห์ค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวในกรอบ 1.1270-1.1346 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดในวันศุกร์ (7/1) ที่ระดับ 1.1312/16 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร
สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยน ค่าเงินเยนเปิดตลาดเช้าวันอังคาร (4/1) ที่ระดับ 115.32/34 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันพฤหัสบดี (30/12) ที่ระดับ 115.17/19 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ โดยเงินเยนอ่อนค่าตามการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐ ที่แข็งค่าแตะระดับสูงสุดในรอบ 5 ปีเมื่อเทียบกับเงินเยน รวมไปถึงนักลงทุนเทขายเงินเยนซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย หลังจากที่นักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ทำให้ตลาดเริ่มเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น
โดยตัวเลขเศรษฐกิจ มีดังนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการปรับตัวเพิ่มขึ้นระดับ 52.1 ในเดือน ธ.ค. มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ 51.1 แต่ปรับตัวลดลงจากในเดือน พ.ย.ที่ระดับ 53.0 อย่างไรก็ตาม ยังคงติดตามสถานการณ์โควิด-19 อย่างใกล้ชิด หลังจากกระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ญี่ปุ่นมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่จำนวนมากกว่า 2,000 ราย ทั้งนี้ระหว่างสัปดาห์ค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 115.27-116.34 เยน/ดอลลาร์สหรัฐและปิดตลาดในวันศุกร์ (7/1) ที่ระดับ 115.80/83 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ